Menu - - > Home l Basic Camera l Web Board l Contact Web Master

Ancient remains Photographic 2000-2001 Ruins In Ayutthaya

วัดใหญ่ชัยมงคล

 

 

 

วัดใหญ่ชัยมงคล

อยู่นอกพระนครศรีอยุธยาฝั่งตะวันออก ใต้สถานีรถไฟ พ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทอง โปรดให้ขุนเอาศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย ซึ่งตายด้วยอหิวาตกโรคขึ้นมาเผาเสีย ที่ปลงศพนั้น โปรดให้สถาปนาเป็นพระอาราม แล้วประทานชื่อว่า " วัดป่าแก้ว " เพื่อเป็นสำนักสงฆ์ คณะป่าแก้ว ซึ่งบวชเรียมมาแต่สำนักรัตนมหาเถร ในลังกาทวีป

วัดพระศรีสรรเพชญ์

 

 

 

วัดพระศรีสรรเพชญ์

ณ สถานที่แห่งนี้ เดิมเป็นพระราชวังหลวงของพระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1( อู่ทอง) เป็นเวลานานถึง 8 รัชกาลจนถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้โปรดย้ายพระราชวังขยายเขตไปทางทิศเหนือริมฝั่งแม่น้ำลพบุรี แล้วโปรดถวายสถานที่นี้เป็นเขตพุทธาวาส และได้ถวายนามว่า " วัดพระศรีสรรเพชญ์ " เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา ( 16 เมตร ) พระพักตร์ ( หน้า ) ยาว 4 ศอก ( 2 เมตร ) กว้าง 3 ศอก ( 1.5 เมตร ) พระอุระ ( อก ) กว้าง 11 ศอก ( 5.5 เมตร ) ใช้ทองสำริดหล่อเป็นแกนในน้ำหนัก 58,000 ชั่ง ( 34,800 กิโลกรัม ) หุ้มด้วยทองคำน้ำหนัก 286 ชั่ง ( 171.6 กิโลกรัม ) แล้วถวายพระนามว่า " พระพุทธศรีสรรเพชญ์ดาญาณ "

 

วัดราชบูรณะ

 

 

 

วัดราชบูรณะ

อยู่ติดกับวัดมหาธาตุ เป็นวัดใหญ่วัดหนึ่งในพระนครศรีอยุธยา เมื่อสมัยสมเด็จพระนครินทราธิวาช เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยาแล้วโปรดให้ราชโอรสทั้ง 3 พระองค์แยกกันครองเมืองต่างๆ คือ เจ้าอ้ายพระยาโอรสองค์ใหญ่ ครองเมือง สุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาโอรสองค์กลาง ครองเมือง แพรกศรีราชา เจ้าสามพระยาโอรสองค์น้อย ครองเมืองชัยนาท

พ.ศ. 1967 สมเด็จพระนครินทราธิวาช เสด็จสวรรคต เมื่อเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาทราบ จึงเรียกกองทัพเข้ากรุงเพื่อชิงราชสมบัติสืบแทนพระราชบิดา ทั้งสองพระองค์ยกทัพมาทันเวลากันพอดี เจ้าอ้ายพระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดพลับพลาชัย-ป่ามะพร้าว เจ้ายี่พระยาตั้งทัพอยู่ใกล้วัดชัยภูมิ-ป่ามะพร้าว แล้วทั้งสองพระองค์ก็เคลื่อนทัพเข้าประจัญกันบริเวณที่เรียกว่าสะพานป่าถ่าน ทรงพระแสงของ้าว ฟันต้องพระศอขาดพร้อมกันทั้งสองพระองค์

เจ้าสามพระยาเสด็จจากเมืองชัยนาท และขึ้นครองราชย์ในกรุงศรีอยุธยาแทนพระราชบิดา ทรงพระนามว่า " สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 " เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว จึงจัดถวายเพลิงพระศพพระเชษฐาทั้งสองพระองค์พร้อมกัน สถานที่ถวายพระเพลิงนั้น ก็ทรงอุทิศสร้างพระปรางค์และพระวิหารขนานนามว่า " วัดราชบูรณะ "